CPU แบบ Intel Core i3, i5, i7, i9 และ X คืออะไร ?
และ มีเทคโนโลยี
ที่แตกต่างกันอย่างไร ?
หน่วยประมวลผลกลาง
หรือ ซีพียู (CPU) นั้นก็เปรียบเสมือนกับมันสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งค่ายที่คนนิยมเลือกใช้กันก็มี อินเทล (Intel) กับ
เอเอ็มดี (AMD) ซึ่งในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการเลือก
CPU จากค่าย Intel
กันเป็นหลัก
บทความเกี่ยวกับ
Intel Core อื่นๆ
โดยทาง
Intel ได้แบ่งระดับของ CPU
ออกเป็นหลายรุ่น หลายระดับ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์มือใหม่อาจจะเกิดความสับสนว่ามันต่างกันอย่างไร
? แล้วควรจะเลือกใช้งานรุ่นไหนดี
และแน่นอนว่าของเกือบทุกอย่างบนโลกใบนี้
"ของแพงกว่าก็ย่อมจะดีกว่าอยู่แล้ว" แต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว
เราไม่จำเป็นต้องซื้อ CPU ที่แพงที่สุดมาใช้งานเสมอไป
มันขึ้นอยู่กับว่า คุณต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะไหนมากกว่า
หากคุณซื้อ CPU รุ่นแพงสุดมาใช้งานแค่เล่น
Facebook, แชท LINE ฯลฯ
มันก็จะดูไม่คุ้มค่า แต่ในทางกลับกันถ้าซื้อ CPU รุ่นถูกสุดมา
แต่หวังเอามาทำงานตัดต่องานออกแบบ 3 มิติ
(3D Design) ก็คงจะไม่ต่างอะไรกับการเอารถอีโคคาร์
มาขนสุกร
บทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำคุณสมบัติ
CPU ของ Intel
ว่าแต่ละรุ่นเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานในรูปแบบไหน
โดยในบทความนี้จะขออนุญาตกล่าวถึงเฉพาะ CPU สำหรับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปเป็นหลักนะครับ
เนื้อหาภายในบทความ
อธิบายระดับ CPU ของ Intel Core แบบต่างๆ
ถ้าถามว่า
CPU แบบ Core
i3, Core i5, Core i7, Core i9 และ
Core X มันต่างกันตรงไหน
คำตอบที่เรียบง่าย แต่ชัดเจนที่สุด คือ "จำนวนคอร์ (Core
Number)" ที่มีอยู่ในตัว CPU
ครับ คอร์แต่ละตัว
จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมมันถึงมีสิ่งที่เรียกว่า Dual-Core,
Quad-Core หรือ Octa-Core
ซึ่งเดิมที
Intel แบ่ง CPU
ออกมาแค่ 3 ระดับ
คือ Intel Core i3 เป็นรุ่นประหยัด,
Intel Core i5 เป็นรุ่นกลาง และ Intel
Core i7 เป็นรุ่นระดับสูง
แต่ปัจจุบันได้ซอยย่อยเยอะกว่าเดิมแล้ว อ้างอิงจากข้อมูลในปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2021
หรือ พ.ศ. 2564) จะแบ่งระดับออกได้
ดังต่อไปนี้
- Core i3 (4 Cores / 8 Threads) :
เป็น CPU รุ่นเริ่มต้น ที่มีราคาถูกที่สุด
เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป เช่น ทำงานออฟฟิศ, เล่นอินเทอร์เน็ต
หรือเล่นเกมที่กราฟิกไม่ได้อลังการมากนัก
- Core i5 (6 Cores /
12 Threads) : เป็น CPU
ระดับกลาง
ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการทำงาน
และเล่นเกมได้เกือบทุกประเภทที่ความละเอียด Full
HD (1080p) แต่ไม่แรงพอที่จะทำงานที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่กินทรัพยากรสูง
หรือเล่นเกมที่ความละเอียดสูงได้
- Core i7
(8 Cores /16 Threads) : เป็น
CPU ระดับสูง
สามารถทำงานด้านกราฟิกอย่างการตัดต่อวีดีโอ
หรือเล่นเกมส์คุณภาพสูงที่ความละเอียดระดับ 4K ได้อย่างลื่นไหล
- Core i9 (8 Cores / 16 Threads) :
สำหรับ CPU ตระกูลนี้ เพิ่งมาในเมื่อไม่กี่ปีนี้เอง โดยเปิดตัวครั้งแรกในปี
ค.ศ. 2017 (พ.ศ.
2560) ถ้าคิดว่า Core
i7 ยังแรงไม่พอ ก็สามารถเลือกใช้งาน Core
i9 ได้ แม้จะมี 8 คอร์/16 เธรด
เท่ากัน แต่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ CPU จะเร็วกว่า
- Core X : สำหรับ
CPU รุ่นนี้ ทาง Intel วางกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้งานระดับสูง
ที่ต้องการความแรงระดับสูงสุด โดยไม่เกี่ยงราคา ปัจจุบันนี้ รุ่นมีอยู่คือ
- 10 Cores /
20 Threads
- 12 Cores /
24 Threads
- 14 Cores /
28 Threads
- 18 Cores /
36 Threads
หมายเหตุ :
ตอนที่เปิดตัวครั้งแรก Core
X ใช้ชื่อว่า Core i9 แต่ก็
ไม่ใช่ว่า Core i9 ทุกรุ่นจะเป็น Core
X ซึ่งในปัจจุบันนี้ Core
i9 ก็ได้รวมอยู่ใน CPU สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักรวมกับพวก
i3, i5 และ i7
แล้ว
ตัวเลขหลังชื่อ CPU ของ Intel หมายถึงอะไร ?
เรารู้จักกับระดับของ
CPU กันไปแล้ว
ต่อมามาเรียนรู้ข้อมูลของชุดตัวเลขที่อยู่ตามหลังชื่อของ CPU
กันต่อเลยดีกว่า
หลังชื่อ
CPU ที่เราเห็นของพวก Core
i3, Core i5 ฯลฯ จะมีชุดตัวเลขตามหลังห้อยท้ายมาด้วย
เป็นการบอกว่าเป็น CPU รุ่นดังกล่าวเป็นเจนเนอเรชั่นไหน
อย่างในภาพด้านล่างนี้ Core i9-11900 ค่าตัวเลข 11 หมายความว่ามันเป็น
CPU เจนเนอเรชั่น 11
ส่วนตัวเลข 900 จะบอกถึง
SKU ของสินค้า (SKU
ย่อมาจาก Stock Keeping Unit เป็นหน่วยที่ใช้จำแนกความแตกต่างของสินค้า)
ภาพจาก https://www.thailand.intel.com/content/www/th/th/products/details/processors/core/i9.html
ตัวอักษรหลังชื่อ CPU ของ Intel หมายถึงอะไร ?
นอกจากชื่อรุ่น
และหมายเลขแล้ว เราจะสังเกตเห็นว่าท้ายสุดยังจะมีตัวอักษรต่อท้ายตามมาอีก
พวกนี้เป็นตัวอักษรต่อท้าย (Suffixes) ที่ช่วยบอกคุณลักษณะของ
CPU นะครับ
โดยจะมีรายละเอียดดังนี้
ตัวอักษรต่อท้าย
|
ความหมาย
|
B
(B = Ball Grid Array (BGA))
|
เป็น
CPU แบบถาด ไม่มีพัดลม,
ฮีทซิงก์ ให้มาด้วย (ต้องซื้อเอง)
|
G1-G7
(Graphics level)
|
ระดับคุณภาพของกราฟิก
(เฉพาะ CPU รุ่นใหม่ที่มีการ์ดจอในตัว)
|
E
(Embedded)
|
แบบฝัง
|
F
|
จำเป็นต้องมีการ์ดจอแยก
เพื่อให้ทำงานได้
|
G
|
มีการ์ดจอในตัว
|
GRE
|
มีคุณสมบัติ
Intel Time Coordinated Computing (Intel TCC) และ
Time-Sensitive Networking (TSN) ฝังไว้ในตัว
|
H
(High performance)
|
ประสิทธิภาพสูง
และปรับแต่งให้เหมาะสมกับอุปกรณ์พกพา
|
HK
|
ประสิทธิภาพสูง
และปรับแต่งให้เหมาะสมกับอุปกรณ์พกพา,
สามารถ Overclock ได้
|
HQ (High
performance, Quad core)
|
ประสิทธิภาพสูง
และปรับแต่งให้เหมาะสมกับอุปกรณ์พกพา,
มี 4 คอร์
|
K
(Unlocked)
|
สามารถ
Overclock ได้
|
KF
|
สามารถ
Overclock ได้,
จำเป็นต้องมีการ์ดจอแยก เพื่อให้ทำงานได้
|
S
(Special edition)
|
รุ่นพิเศษ
|
T
|
ปรับแต่งการใช้พลังงานให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์
|
U
|
ปรับแต่งการใช้พลังงานให้เหมาะสมกับอุปกรณ์พกพา
|
Y
|
เน้นการประหยัดพลังงานสูงสุดสำหรับอุปกรณ์พกพา
|
เทคโนโลยี Hyper-Threading หรือ HT คืออะไร ?
หนึ่งในจุดขายของ
CPU จาก Intel
คือเทคโนโลยี Hyper-Threading
(ปัจจุบันนี้ AMD ก็มีแล้วนะ
ใช้ชื่อว่า Simultaneous MultiThreading หรือ SMT)
ความสามารถของมัน คือ การทำให้ตัวประมวลผล 1
คอร์ จำลองตัวเองให้ทำงานเหมือน 2
คอร์ได้ ซึ่งจะช่วยให้การประมวลผลงานต่างๆ
ทำได้เร็วขึ้น
อย่างไรก็ตาม
มีเรื่องที่ต้องจำไว้ด้วยนิดนึง คือ Core แท้
ๆ นั้นทำงานได้เร็วกว่า Core ที่จำลอง
ขึ้นมา เช่น CPU แบบ 4
Cores แท้ ๆ นั้นจะทำงานได้เร็วกว่า CPU
แบบ 2 Cores ที่รองรับ Hyper-Threading
ทั้งนี้
คุณสมบัติ Hyper-Threading ไม่ได้มีทุกรุ่นนะครับ
จำเป็นต้องดูเป็นรุ่น ๆ ไป ว่ามี SKU ไหนที่รองรับบ้าง
เทคโนโลยี Turbo Boost คืออะไร ?
เบื้องหลังการทำงานของเทคโนโลยีนี้ค่อนข้างซับซ้อนซึ่งเราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้
รู้แค่ว่ามันเร็วได้เท่าไหร่ก็พอ เวลาเราดูสเปก CPU เราจะเห็นว่ามีค่าความเร็วอยู่
2 ค่า คือ Processor
Base Frequency (ความเร็วพื้นฐาน) และ Max
Turbo Frequency (ความเร็วสูงสุด) ซึ่งค่า Processor
Base Frequency จะต่ำกว่าค่า Max
Turbo Frequency อยู่เสมอ
ในการใช้งานปกติ
CPU มักจะวิ่งอยู่ที่ความเร็วของ Processor
Base Frequency แต่หากเรามีการใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง
มันสามารถปิดการทำงานในบางส่วนของคอร์อื่นๆ
เพื่อเร่งความเร็วให้คอร์หลักที่ใช้ทำงานได้เพื่อให้ได้ความเร็วที่เป็น Max
Turbo Frequency นั่นเอง
ภาพจาก https://www.intel.com/content/www/us/en/products/details/processors/core/x.html
แคช (Cache) ใน CPU ก็สำคัญนะ
นอกเหนือไปจาก
Hyper-Threading และ Turbo
Boost แล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ Core
i แต่ละรุ่นมีความแตกต่างกันก็คือ ขนาดของ Cache
ซึ่งเป็นเสมือนพื้นที่แรมส่วนตัวของ CPU
แน่นอนว่า Cache ยิ่งเยอะยิ่งดี
อย่าง Core i9 เจนฯ 11
มี Cache ถึง
24 MB เลยทีเดียว ในขณะที่ Core
i3 เจนฯ 11 มี
Cache เริ่มต้นเพียง 6
MB เท่านั้น