23 พฤษภาคม 2561

แหล่งปิโตรเลียมของไทย

ประเทศไทยมีแหล่งปิโตรเลียมบนบกและในทะเลที่ไหนบ้าง
1 แหล่งปิโตรเลียมบนบก
          ในปัจจุบัน แหล่งปิโตรเลียมบนบกของประเทศบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง กระจายตัวอยู่ในแอ่งสะสมตะกอนยุคเทอร์เทียรี ชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียมส่วนใหญ่เป็นชนิดหินทราย และยังพบในหินอัคนี แทรก ซอนระดับตื้น ชั้นน้ำมันดิบพบอยู่ที่ความลึกตั้งแต่ 500 – 3,500 เมตรโดยทั่วไป มีค่าความดันในแหล่งไม่สูงนัก เมื่อผลิตไประยะหนึ่ง น้ำมันดิบจะไม่สามารถไหลขึ้นเองถึงปากหลุม ต้องใช้เครื่องปั๊มช่วยดูดหรือสูบน้ำมันดิบขึ้นมา สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในชั้นหินปูนแหล่งน้ำมันดิบบนบกส่วนใหญ่ มีขนาดเล็กที่สัมพันธ์กับการเกิดรอยเลื่อนในชั้นหิน แหล่งน้ำมันดิบที่พบในแอ่งสะสมตะกอนยุคเทอร์เทียรี จากภาคเหนือลงสู่ภาคกลาง มีดังนี้

1) แอ่งฝาง ประกอบด้วยแหล่งฝาง ไชยปราการ แม่สูน โป่งนก-โป่งฮ่อม บริเวณอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 1,000 บาร์เรลต่อวัน
2) แอ่งพิษณุโลก มีการผลิตน้ำมันดิบมากที่สุดของประเทศ ประกอบด้วยแหล่งสิริกิติ์ ทับแรต หนองมะขาม หนองตูม วัดแตน เสาเถียร ประดู่เฒ่า ปรือกระเทียม หนองแสง ทุ่งยางเมือง บึงหญ้า บึงม่วง บึงหญ้าตะวันตก บึงม่วงใต้ หนองสระ อรุโณทัย และ บูรพา อยู่ในพื้นที่ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอคีรีมาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 27,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติที่ผลิตขึ้นมากับน้ำมันดิบ ประมาณ 25 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
3) แอ่งเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยแหล่งวิเชียรบุรี ศรีเทพ นาสนุ่น นาสนุ่นตะวันออก บ่อรังเหนือ วิเชียรบุรีส่วนขยาย และ L33 อยู่ในพื้นที่อำเภอวีเชียรบุรี และ อำเภอศรีเทพ
จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 2,200 บาร์เรลต่อวัน
4) แอ่งสุพรรณบุรี ประกอบด้วยแหล่งอู่ทอง สังฆจาย บึงกระเทียม และ หนองผักชี อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง และ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 350 บาร์เรลต่อวัน
5) แอ่งกำแพงแสน อยู่ในพื้นที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 483 บาร์เรลต่อวัน 
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบัน มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่ง คือ
5.1) แหล่งก๊าซน้ำพอง บริเวณอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
5.2) แหล่งก๊าซสินภูฮ่อม บริเวณอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลวประมาณ 450บาร์เรลต่อวัน
3.2 แหล่งปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย
การสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทยเริ่มในปีพ.ศ. 2511 ภายใต้เงื่อนไขพิเศษตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 ต่อมาเมื่อประกาศใช้ พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 จึงได้โอนสิทธิมาสำรวจภายใต้กฎหมายปิโตรเลียม พื้นทะเลอ่าวไทยมีความลาดชันน้อย โดยค่อยๆ ลาดเอียงลงมาจากฝั่งด้านตะวันออก และ ตะวันตกจนถึงจุดลึกสุดตรงกลางอ่าว ความลึกประมาณ 83 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางก่อนเปิดออกสู่ทะเลจีนใต้ อ่าวไทยถูกขนาบด้วยชายฝั่งของประเทศต่างๆ จึงมีพื้นที่ทับซ้อนกันหลายประเทศ คือ พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา พื้นที่ทับซ้อนไทย-เวียดนาม และพื้นที่ทับซ้อนไทย – มาเลเซีย
แอ่งสะสมตะกอนยุคเทอร์เทียรี (อายุน้อยกว่า 65 ล้านปี) ในอ่าวไทยมีไม่น้อยกว่า 13 แอ่ง ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ซึ่งมีศักยภาพในการสำรวจหาปิโตรเลียม แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแอ่งตะกอน ด้านตะวันตกของสันเกาะกระ (Ko Kra Ridge) ประกอบด้วย แอ่งตะกอนขนาดเล็ก ลักษณะแคบ และยาวในแนวเหนือ-ใต้ ได้แก่ แอ่งหัวหิน แอ่งนอร์ทเวสเทิน แอ่งประจวบ แอ่งชุมพร แอ่งเวสเทินกระ แอ่งกระ แอ่งอีสเทินกระ แอ่งนคร และแอ่งสงขลา ส่วนทางด้านตะวันออกของสันเกาะกระ เป็นแอ่งตะกอนที่มีขนาดใหญ่กว่าและมีความสำคัญทางด้านปิโตรเลียมมาก คือ แอ่งปัตตานี และแอ่งมาเลย์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของอ่าวไทย
กลุ่มแอ่งตะกอนด้านตะวันตกของสันเกาะกระ (Ko Kra Ridge) มีการสำรวจพบปิโตรเลียมในกลุ่มแอ่งกระ มีการผลิตน้ำมันดิบต่อวันจากแหล่งจัสมินและบานเย็น ประมาณ
12,000 บาร์เรล แหล่งบัวหลวง ประมาณ 7,400 บาร์เรล ในแอ่งชุมพรสำรวจพบน้ำมันดิบแหล่งนางนวล (หยุดผลิตชั่วคราว) ในแอ่งสงขลาสำรวจพบน้ำมันดิบแหล่งสงขลา มีการผลิตประมาณวันละ 17,500 บาร์เรล
แอ่งปัตตานี เป็นแอ่งสะสมตะกอนอายุเทอร์เชียรี่ที่ใหญ่ที่สุดอ่าวไทย มีแหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย ธรณีวิทยาบริเวณนี้มีหินตะกอนที่เกิดสะสมในที่ราบน้ำท่วมถึง ที่ราบน้ำพัดพา และทะเลสาบน้ำจืด เป็นหินต้นกำเนิดปิโตรเลียมที่สำคัญ โดยมีหินทรายที่เกิดจากการสะสมตัวในทางน้ำเป็นชั้นกักเก็บปิโตรเลียม รูปแบบของแหล่งกักเก็บส่วนใหญ่สัมพันธ์กับแนวรอยเลื่อน
บริษัท คอนติเนนตัล ออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด เจาะสำรวจหลุมแรกของอ่าวไทย คือ หลุมสุราษฎร์ – 1 แต่ไม่พบปิโตรเลียม ต่อมา ในปีพ.ศ. 2515 บริษัท ยูเนี่ยน ออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เจาะสำรวจหลุม 12-1 ในแปลง 12 พบก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งได้พัฒนาเป็นแหล่งปิโตรเลียมแห่งแรกของอ่าวไทย คือ แหล่งเอราวัณ และพัฒนาแหล่งอื่นๆ ที่สำรวจพบน้ำมันดิบอีกด้วย ได้แก่ แหล่งบรรพต แหล่งสตูล แหล่งปลาทอง แหล่งฟูนาน และแหล่งไพลิน และกลุ่มแหล่งทานตะวัน ณ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ในแอ่งปัตตานี มีการผลิตปิโตรเลียมรวมต่อวัน คือ ก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 2,200 ล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซธรรมชาติเหลว (คอนเดนเสท) ประมาณ 53,800 บาร์เรล และน้ำมันดิบ ประมาณ 76,000 บาร์เรล (กลุ่มบริษัทเชฟรอน เป็นผู้ดำเนินงานในปัจจุบัน)
สำหรับพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ซึ่งอยู่บริเวณตอนเหนือของแอ่งปัตตานี ยังคงอยู่ในขั้นตอนการเจรจาของทั้งสองประเทศแอ่งมาเลย์ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของแอ่งปัตตานีเป็นแอ่ง Intracratonic ที่เกิดจากการปริแยก (rifting) ในช่วงอายุ เทอร์เชียรี่ตอนต้น เนื่องมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนในแนวราบ แอ่งจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ การปริแยกดังกล่าวทำให้เกิดรอยเลื่อนปกติ (normal fault) ในแนวเหนือ-ใต้และเกิดแอ่งย่อยแบบ half graben ชั้นหินในแอ่งมาเลย์ ประกอบด้วยหินดินดานซึ่งสะสมตัวในทะเลสาบน้ำจืด หินทรายที่สะสมตัวในแบบทางน้ำ ดินดอนปากแม่น้ำ ที่ราบน้ำท่วม และมีชั้นถ่านหินและชั้นหินดินดานแทรกสลับอยู่ทั่วไป โดยมีหินดินดานที่สะสมตัวในทะเล จะเป็นได้ทั้งหินต้นกำเนิดและชั้นกักเก็บปิโตรเลียม
แอ่งมาเลย์ตอนเหนือ มีพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ทับซ้อนไทย-เวียดนาม แต่รัฐบาลทั้งสองประเทศได้ข้อตกลงกำหนดเส้นแบ่งเขตประเทศเมื่อปีพ.ศ. 2540 ซึ่งในส่วนพื้นที่ของไทย บริษัท ปตท. สผ. จำกัด สำรวจพบปิโตรเลียมแหล่งอาทิตย์ ซึ่งรวมกับแหล่งบงกช ได้รับพระราชทานนามว่า แหล่งนวมินทร์ ปริมาณการผลิตปิโตรเลียมรวมต่อวันจากแหล่งบงกช คือ ก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 650 ล้านลูกบาศก์ฟุต และก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 21,000 บาร์เรล
สำหรับปริมาณการผลิตปิโตรเลียมรวมต่อวันจากแหล่งอาทิตย์ ประกอบด้วย ก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต และก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 11,500 บาร์เรล แอ่งมาเลย์ตอนใต้
ในเขตพื้นที่ทับซ้อนกับประเทศมาเลเซีย ได้จัดตั้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (Malaysia – Thailand Joint Authority : MTJA) เพื่อแสวงประโยชน์ในแหล่งปิโตรเลียมร่วมกัน และเริ่มผลิตปิโตรเลียมแล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ส่งก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลวเข้าประเทศไทยวันละประมาณ 760 ล้านลูกบาศก์ฟุต และ 7,500 บาร์เรล ตามลำดับ
3.3 แหล่งปิโตรเลียมในทะเลอันดามัน
ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของประเทศไทย ชายฝั่งทะเลอันดามัน มีความลาดชันสูงกว่า ด้านอ่าวไทยมาก ในน่านน้ำไทย พื้นทะเลค่อยลาดชันไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ตรงบริเวณต่อแดนกับน่านน้ำอินโดนีเซีย ทะเลอันดามันในเขตไทยมีน้ำลึกกว่า 1,000 เมตร นับแต่ปีพ.ศ. 2517 ถึงปี พ.ศ. 2555 มีผู้รับสัมปทานหลายรายเจาะสำรวจแล้ว 19
หลุม พบร่องรอยก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ 8 หลุม ทั้งนี้ ข้อมูลการสำรวจทางธรณีวิทยา ที่มีอยู่ในปัจจุบัน บ่งชี้ว่าในทะเลอันดามันมีศักยภาพทางปิโตรเลียม มีโอกาสพบแหล่งปิโตรเลียมได้ดังเช่นแหล่งปิโตรเลียมที่พบในน่านน้ำประเทศสหภาพพม่า และอินโดนีเซีย

ภาพแผนที่แสดงแหล่งปิโตรเลียมบนบกและในทะเล


่ที่ท่องเที่ยวปัตตานี

       จังหวัด ปัตตานี ,ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่พัก โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน ท้องถิ่น หาข่าว ม.อ.ปัตตานี หน่วยงาน กู้ภัย แผนที่จังหวัดปัตตานี และอื่นๆ ใน จว.ป.น.
 แผนที่ตัวเมืองปัตตานี
          ปัตตานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ติดกับทะเลจีนใต้หรืออ่าวไทยมีพื้นที่ประมาณ 1940 .356 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำตานีและแม่น้ำสายบุรี  ในอดีตจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากเคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธ
          ในพุทธศตวรรษที่ 7 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส รัฐกลันตัน กับรัฐตรังกานูในมาเลเซีย  ปัจจุบันยังมีซากเมืองเก่าของปัตตานีในยุคนั้นปรากฏให้เห็นที่อำเภอยะรัง ในปัจจุบัน และมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเป็นระยะทางยาวประมาณ 170 กิโลเมตร จึงเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการปกครองการค้าและวัฒนธรรมมีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวหลายด้านทั้งด้านธรรมชาติ
ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี ยะรัง หนองจิก โคกโพธิ์ ยะหริ่งปะนาเระ มายอ สายบุรี กะพ้อ ไม้แก่น ทุ่งยางแดง และแม่ลาน
การเดินทาง
รถยนต์ ปัตตานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 1055 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางหมายเลข 35 ( ธนบุรี - ปากท่อ ) ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 จนถึงจังหวัดชุมพรรวมระยะทางประมาณ 460 กิโลเมตร 41 42 แล้วเดินทางต่อโดยใช้ทางหลวงหมายเลขค็อคนครศรีธรรมราชสงขลา ผ่านปากน้ำเทพาเข้าสู่จังหวัดปัตตานี รวมระยะทางประมาณ 505 กิโลเมตร
รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงมีขบวนรถด่วน และรถเร็วบริการถึงสถานีปัตตานี ( โคกโพธิ์ ) ทุกวันสอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทางโทร . 1690 , 0 2223 7010 , 0 2223 7020 ค็อค www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดา และรถโดยสารปรับอากาศของบริษัทขนส่งจำกัด ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ไปจังหวัดปัตตานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร . 02 894 6122 จองตั๋วบขส . โทร . 02 422 4 , 444 ค็อค wwwการขนส่ง . co.th
จากสถานีปัตตานี จะมีรถโดยสารประจำทาง และรถแท๊กซี่บริการระหว่างอำเภอโคกโพธิ์ - อำเภอเมืองระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร
เครื่องบิน นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ - หาดใหญ่จากนั้นนั่งรถรับส่งระหว่างสนามบินหาดใหญ่ - ปัตตานีหรือสามารถต่อรถโดยสารประจำทางหรือรถแท๊กซี่จากตัวเมืองหาดใหญ่ไปปัตตานีระยะทางประมาณ 104ใช้เวลาเดินทางประมาณ 130 ชั่วโมง

- See more at: http://www.folktravel.com/archive/pattani.html#sthash.3zyT6Vbc.dpuf



ให้ MS-Word ช่วยเปลี่ยนเสียงเป็นข้อความ

  Microsoft word สามารถช่วยเปลี่ยนเสียงเป็นข้อความได้ ทำให้ช่วยลดเวลาในการฟังแล้วพิมพ์เป็นข้อความ ซึ่งมีวิธีการทำง่ายๆ เตรียมไฟล์เสียงที...